เรียนผู้ใช้งานระบบ หากท่านพบปัญหาหรือติดปัญหา ในการใช้งานระบบ
ท่านสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ ผ่านช่องทาง Line Official Account ได้ดังนี้
ความสำคัญของหลักสูตร
จากสถานการณ์ด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่งผลต่อวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมที่อาจเกิดสิ่งคุกคามต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน เช่น คุณภาพอากาศ น้ำเสีย มูลฝอย สารเคมี สาธารณภัยต่างๆ เป็นต้น ดังนั้นต้องส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญและมีพฤติกรรมดูแลสุขภาพและจัดการสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัย เป็นต้นแบบในการสร้างเสริมสุขภาพและการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม และอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนในชุมชน ดังนั้นควรสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีองค์ความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติงาน และสื่อสารต่อประชาชนในชุมชนได้
ผลลัพธ์การเรียนรู้
1. อสม.สามารถอธิบายความหลักการและประเด็นที่สำคัญในการจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อมได้
2. อสม.สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่
คำอธิบายหลักสูตร
การจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาครอบคลุมความหมาย ความสำคัญของการจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม สาธารณภัยในชุมชน สุขาภิบาลที่พักอาศัย สุขาภิบาลอาหารและน้ำ กฎหมายสาธารณสุข การสร้างความรอบรู้ การประเมินความเสี่ยง แผนที่ชุมชน และการสื่อสารความเสี่ยง ประกอบด้วย 7 บทเรียน โดยมีแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนทุกรายวิชา (ผู้อบรมต้องผ่านการทดสอบหลังเรียน และได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60) ผู้ที่ผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองการผ่านหลักสูตร
จันท์จิรา ตรีสิทธิมากุล | |
นางสาวฐาปนี ชูเชิด | |
วิมลศิริ วิเศษสมบัติ |
เพื่ออธิบายวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายที่อบรม กรอบเนื้อหาของหลักสูตร และเกณฑ์การวัดและประเมินผลภายหลังการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมายที่อบรม กรอบเนื้อหาของหลักสูตร และเกณฑ์การวัดและประเมินผลภายหลังการเรียนรู้
ศึกษาคำแนะนำหลักสูตรการจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม สำหรับอาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
เพื่อให้ อสม. เข้าใจถึงความหมาย และความสำคัญของการจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทราบบทบาทหน้าที่ของ อสม.ต่อการจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม
ความหมายและความสำคัญของการจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อตนเองและชุมชน รวมถึงบทบาทหน้าที่ของ อสม. ต่อการจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม
ศึกษาเนื้อหาที่กำหนดให้ 3 หัวข้อสำคัญ รวมระยะเวลาประมาณ 40 นาที โดยให้ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อวัดผลและประเมินการเรียนรู้
1.1 ความหมายและความสำคัญ การจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม
1.2 บทบาทหน้าที่ อสม. เชี่ยวชาญ ด้านการจัดการสุขภาพชุมชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม
1.3 การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนส่งผลต่อการมีสุขภาพดี
เพื่อให้ อสม. สามารถดูแลตนเองและบอกต่อประชาชนในชุมชนเรื่องการจัดการน้ำสะอาด การทำส้วมกระดาษ การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในบ้านหลังเกิดสาธารณภัย
ความหมาย วิธีการเตรียมตัวก่อนการเกิด ระหว่างเกิด และหลังเกิดสาธารณภัย หลักการปฏิบัติกรณีเกิดสาธารณภัยระดับหมู่บ้าน/ชุมชน การสุขาภิบาลเบื้อต้นในภาวะประสบภัยน้ำท่วม และภัยร้อน
ศึกษาเนื้อหาที่กำหนดให้ 4 หัวข้อสำคัญ รวมระยะเวลาประมาณ 30 นาที โดยให้ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อวัดผลและประเมินการเรียนรู้
2.1 ความหมาย ประเภท และระยะการเกิดสาธารณภัย
2.2 หลักการปฏิบัติกรณีเกิดสาธารณภัยระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
2.3 การสุขาภิบาลเบื้องต้นในภาวะประสบภัยน้ำท่วม
2.4 การสุขาภิบาลเบื้องต้นในภาวะประสบภัยร้อน
เพื่อให้ อสม. เข้าใจความสำคัญและการจัดสุขาภิบาลที่พักอาศัยและพฤติกรรมอนามัยในครัวเรือน สามารถใช้เครื่องมือนากรประเมิน “บ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์” และให้คำแนะนำการจัดการสุขาภิบาลที่อยู่อาศัยแก่ประชาชนในพื้นที่ได้
แนวคิดการจัดการสุขาภิบาลที่พักอาศัย ความสำคัญ และการดำเนินงานสุขาภิบาลที่พักอาศัยด้านกายภาพ ด้านพฤติกรรมอนามัย และด้านการมีส่วนร่วม เช่น การจัดห้องต่างๆภายในบ้าน การจัดการน้ำดื่ม น้ำใช้ในที่พักอาศัย การจัดการขยะ การจัดการน้ำเสียครัวเรือน การควบคุมสัตว์และแมลงพาหะนำโรค สารเคมีและความปลอดภัย เป็นต้น
ศึกษาเนื้อหาที่กำหนดให้ 2 หัวข้อสำคัญ และมีการ์ตูนแอนิเมชั่น โครงการบ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์ จำนวน 8 ตอน รวมระยะเวลาประมาณ 40 นาที โดยให้ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อวัดผลและประเมินการเรียนรู้
3.1 ความหมายและความสำคัญสุขาภิบาลที่พักอาศัย
3.2 การดำเนินงานสุขาภิบาลที่พักอาศัย
3.3 การ์ตูนแอนิเมชั่น โครงการบ้านสะอาด อนามัยดี ชีวีสมบูรณ์
ตอนที่ 1 มาทำความสะอาดบ้านกันเถอะ
ตอนที่ 2 ส้วมสะอาด
ตอนที่ 3 การคัดแยกขยะ
ตอนที่ 4 สารเคมีอันตรายเก็บไว้ให้ปลอดภัย
ตอนที่ 5 อาหารสะอาด ปลอดภัย
ตอนที่ 6 กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
ตอนที่ 7 ไฟฟ้าอันตราย ปลอดภัยไว้ก่อน
ตอนที่ 8 ช่วยกันลดปัญหาเหตุรำคาญ
เพื่อให้ อสม. เข้าใจการคุ้มครองสิทธิของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และการร้องเรียนกรณีประสบเหตุเดือนร้อนรำคาญ
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับประชาชน และบทบาทของ อสม.ต่อการจัดการเหตุเดือนร้อนรำคาญที่เกิดขึ้นในชุมชน
ศึกษาเนื้อหาที่กำหนดให้ 3 หัวข้อสำคัญ รวมระยะเวลาประมาณ 18 นาที โดยให้ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อวัดผลและประเมินการเรียนรู้
4.1 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
4.2 หน้าที่ของประชาชนและผู้ประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
4.3 สิทธิของประชาชนเมื่อได้รับความเดือนร้อนรำคาญ
เพื่อให้ อสม. เข้าใจความหมายและมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารสำหรับสถานประกอบการด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่การเลือกใช้บริการร้านอาหาร ตลาด แผงลอยในชุมชน และสามารถเลือกวัตถุดิบในการปรุงอาหารอย่างปลอดภัย สามารถจัดการน้ำบริโภคในครัวเรือน และนำแนวทางการจัดการสุขาภิบาลอาหารและนำไปใช้ในชุมชน
ความหมายและมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารสำหรับสถานประกอบการด้านอาหาร และพฤติกรรมอนามัยในการกินอาหารปลอดภัย การจัดการน้ำดื่มในครัวเรือน และการตรวจสอบคุณภาพน้ำ
ศึกษาเนื้อหาที่กำหนดให้ 2 หัวข้อสำคัญ รวมระยะเวลาประมาณ 54 นาที โดยให้ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อวัดผลและประเมินการเรียนรู้
5.1 การสุขาภิบาลอาหาร
5.2 การจัดการน้ำดื่มในครัวเรือน
เพื่อให้ อสม. มีความเข้าใจ และมีทักษะในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อให้กับประชาชนในชุมชนได้
ความหมายและหลักการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม แนวทางเพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน สำหรับ อสม. รวมถึงกิจกรรมฝึกทักษะในการสร้างความรอบรู้
ศึกษาเนื้อหาที่กำหนดให้ ความหมายและหลักการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวทางเพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน สำหรับ อสม. รวมระยะเวลาประมาณ 16 นาที โดยให้ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อวัดผลและประเมินการเรียนรู้
1. เพื่อให้ อสม. เข้าใจความหมายของความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ โดยสามารถประเมินความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือในการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์
2. เพื่อให้ อสม. เข้าใจกระบวนการจัดทำแผนชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
3. เพื่อให้ อสม. เข้าใจหลักการและกระบวนการสื่อสารสร้างการรับรู้กับชุมชนในการลดหรือป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ และสร้างความร่วมมือในการจัดการความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
นิยาม ความหมายของความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ การใช้เครื่องมือ “แผนที่ความเสี่ยงชุมชน” ในการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ระบุปัญหาความเสี่ยงสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของกระบวนการจัดทำแผนชุมชน และกระบวนการสื่อสารความเสี่ยงชุมชน
ศึกษาเนื้อหาที่กำหนดให้ 3 หัวข้อสำคัญ รวมระยะเวลาประมาณ 26 นาที โดยให้ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนเพื่อวัดผลและประเมินการเรียนรู้
7.1 การประเมินความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
7.2 การจัดทำแผนชุมชน
7.3 การสื่อสารความเสี่ยง
เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรออนไลน์
ความพึงพอใจต่อระบบการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์
ทำแบบประเมินความพึงพอใจ โดยไม่กำหนดเวลา